วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9




บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิ่น

วันพฤหัสบดี ที่30 มกราคม 2557

ครั้งที่9 เวลาเรียน 08.30-12.20


เวลาเข้าเรียน08.30 น. เวลาเลิกเรียน12.20 น.



ในวันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่อของแต่ละกลุ่ม

ซึ่งกลุ่มของดิฉัน ชื่อสื่อ คณิต ลองคิดดู








ซึ่งสื่อที่ดิฉันชื่นชอบ คือ


วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิ่น

วันพฤหัสบดี ที่23 มกราคม 2557

ครั้งที่8 เวลาเรียน 08.30-12.20


เวลาเข้าเรียน08.30 น. เวลาเลิกเรียน12.20 น.


วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมการเขียนแผน โดยให้เแบ่งกลุ่มประมาณ5-6คน

กิจกรรมแผนการสอน ให้คิดแผนการทำกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม "เตะยังไงให้ล้ม" เด็กอายุ4ปี

   ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำเกี่ยวกับกิจจกรรมที่ให้เด็กเตะลูกฟุตบอลให้โดนขวดจำนวน10ขวด ฝึกให้เด็กนับจำนวน
ขวดที่เตะล้มและขวดที่ยังตั้งอยู่
   
   หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้เขียนแผนเป็นงานเดี่ยวอีก ซึ่งแผนที่จัดเป็นกิจกรรมการโยนลูกบอลลงตะกร้าของ
ระดับชั้นอนุบาล1เพื่อให้เด็กได้ฝึกจำนวนการนับ1-5

ความรู้สึกในวันนี้
 รู้สึกว่าเหนื่อยมากกับการเขียนแผน เพราะเจอมาแล้วเกือบทุกวิชา แต่ของอาจารย์เบียร์เขียนแบบเบสิค เพราะ
อาจารย์ไม่กดดันเลย แถมยังเดินมาให้คำแนะนำที่โต๊ะบ่อยด้วย


ความรู้ที่ได้รับ


ได้รับทักษะการเขียนแผนเพิ่มเติม



                                                         

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิ่น

วันพฤหัสบดี ที่16 มกราคม 2557

ครั้งที่7 เวลาเรียน 08.30-12.20


เวลาเข้าเรียน08.30 น. เวลาเลิกเรียน12.20 น.


ในวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำ 2กิจกรรม โดยอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน

ซึ่งกิจกรรมมี ดังนี้
  1. กิจกรรม ตัวหนอน ตามรูปแบบของเราเอง โดยให้ใช้ตามหลักที่เรียนมา พีชคณิต







   2.  กิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


กลุ่มเรา ได้แผนภูมิแท่ง ทำเรื่องสี หลังจากนั้นส่งตัวแทนมาแสดงบทบาทสมมุติเป็นครูเพื่อออกมาสอน และ ข้อ


ความร่วมมือจากเพื่อนๆในห้อง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสำรวจสีที่เด็กในห้องชอบ










       พอเสร็จกิจกรรมทั้ง2 กิจกรรม แล้ว อาจารย์ก็ให้ส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่ม2คน ออกมาแสดงเป็นครู เพื่อ

สำรวจสีที่เด็กชอบ เพื่อนในห้องสนุกสนานกับกิจกรรมที่ทำในวันนี้ อาจารย์ก็สอนสนุก เป็นกันเอง  หลังจากเสร็จ

กิจกรรมทุกอย่างแล้ว เพื่อนๆในห้อง เตรียมเซอร์ไพร์อาจารย์ เพราะวันนั้นเป็นวันครู พวกเราไหว้อาจารย์เสร็จ

อาจารย์ก็ปลื้ม แล้วยังชื่นชมกลุ่มเรียนนี้อีกด้วย



                                                                 














บันทึกอนุทิน ครั้งที่6





บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิ่น

วันพฤหัสบดี ที่9 มกราคม 2557

ครั้งที่6 เวลาเรียน 08.30-12.20


เวลาเข้าเรียน08.30 น. เวลาเลิกเรียน12.20 น.


      ในวันนี้ อาจารย์ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม แต่งนิทานจากรูปทรง โดยให้เพื่อนๆในห้องช่วยกันแสดงความคิดเห็นของ

เนื้อเรื่องหลังจากที่แต่งนิทานเสร็จ แบ่งกลุ่มกันลงตัว อาจารย์ก็ให้จับฉลากเพื่อเลือกประโยคของนิทานกลุ่มละ1

ประโยคแล้วนำไปวาดภาพระบายสีตามเนื้อเรื่อง







ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
  • ได้รู้ถึงประโยชน์ของการใช้รูปทรง
  • นำไปต่อยอดความคิดสร้างสรรค์
วันนี้ อาจารย์สอนสนุก เปิดเพลงให้ฟังด้วย ทำงานไป เพลินไป เพื่อนๆในห้องก็ให้ความร่วมมือในการทำงานกัน

เป็นอย่างดี

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิ่น

วันพฤหัสบดี ที่12 ธันวาคม 2556

ครั้งที่5 เวลาเรียน 08.30-12.20


เวลาเข้าเรียน08.30 น. เวลาเลิกเรียน12.20 น.

วันนี้อาจารย์ได้สอน
เรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

  • ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา


สาระมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 การวัด
สาระที่3 เรขาคณิต
สาระที่4 พีชคณิต
สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
  1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
  • จำนวนนับ 1 ถึง 20
  • เข้าใจหลักการการนับ
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
  • รู้ค่าของจำนวน
  • เปรียบเทียบเรียงลำดับ
  • การรวมและการแยกกลุ่ม
     2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
  • เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว
  • รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
  • เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
    3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเรขาคณิต
  • ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  • รูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
    4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดสี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอแผนภูมิอย่างง่าย
    6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น 


  • ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายลงรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละประเด็นไว้อย่างชัดเจน
       หลังจากนั้นอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำ จากรูปทรง โดยให้เรากำหนดเองว่าจะทำเป็นรูปอะไร ซึ่งของดิฉันได้ใช้รูปทรงวงกลมในการทำแมลงเต่าทอง แต่ดิฉันไม่ได้ถ่ายรูปผลงานชิ้นนี้ไว้


ในวันนี้อาจารย์สอนสนุก เพื่อนๆในห้องตั้งใจเรียนกันดี ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และได้รับความรู้ ดังนี้
  1. เราทราบกรอบมาตรฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปบมวัย
  2. มีความรู้เรื่องสาระการเรียนทั้ง6สาระ ชัดเจนยิ่งขึ้น
การนำไปใช้
  1. สามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้
  2. นำกลุ่มสาระ ไปใช้ในอนาคตกับเด็กได้




                                                                                                             



วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิ่น

วันพฤหัสบดี ที่28 พฤศจิกายน 2556

ครั้งที่4 เวลาเรียน 08.30-12.20


เวลาเข้าเรียน08.30 น. เวลาเลิกเรียน12.20 น.

 

 
ในวันนี้ อาจารย์ให้นำเสนอรายงานของแต่ละกลุ่ม ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
 
กลุ่มที่1จำนวนและการดำเนินการ
 
      คือ ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวนระบบจริง สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริง การ
 
ดำเนินการของจำนวน อัตราส่วน ร้อยละ และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
 
 
 
 
 
กลุ่มที่2 การวัด
 
         คือ การบอกปริมาตร เช่น การชั่ง หรือการวัดความยาวที่มี หน่วยเป็นเมตร มิลลิเมตร
 
เพื่อนกลุ่มนี้มี วิดีโอ มาเปิดให้ดูเกี่ยวกับเรื่องการวัด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนเองด้วย
 
 
 
 
 
กลุ่มที่3 พีชคณิต
 
        เป็นรูปและความสัมพันธ์กับขนาด รูปร่างและสี
 
เพื่อนกลุ่มนี้มีรูปภาพประกอบและยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนว่ารูปภาพสามารถแยกออกได้แบบไหนบ้าง
 
 


กลุ่มที่4 เรขาคณิต

          คือ รูปทรง รูปร่าง ต่างๆที่อยู่รอบตัวหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก รูปทรง รูปร่างจึงมีความสำคัญที่ต้องปลูก

ฝังความรู้ให้แก่เด็ก

เพื่อนกลุ่มนี้ มีการยกตัวอย่างจากสิ่งใกล้ตัว เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น




กลุ่มที่5 การวิเคราะห์และความน่าจะเป็น

        คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับ

ปฐมวัย คือการเปรียบเทียบและการประมวลข้อมูล

เพื่อนๆกลุ่มนี้ หารูปภาพมาอธิบายแทนข้อมูล เพราะ เป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างหายาก






                                                                                        
 
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
1.รู้ว่าการสอนคณิตศาสตร์แบบไหนที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
 
2.รู้จักนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต
 
3.จะทำให้เด็กฝึกการใช้สมอง และสติปัญญา    
 
 
 
 
                      
                
 
 
 

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันพฤหัสบดี ที่21 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่3 เวลาเรียน 08.30-12.20

เวลาเข้าเรียน08.30 น. เวลาเลิกเรียน12.20 น.

วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง ทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

  1. การสังเกต Obser vation
          การใช้ประสาทสัมผัสร่วมกันในการเรียนรู้

    2.  การจำแนกประเภท Classifying

         การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์

    3.  การเปรียบเทียบ Comparing

         เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ตั้งแต่สิ่งของสองสิ่งขึ้นไป

    4.  การจัดลำดับ Ordering
  • เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
  • การจัดลำดับวัตถุหรือเหตุการณ์
    5.  การวัด Measurement
  •  อุณหภูมิ
  • เวลา
  • ระยะทาง
  • ความยาว
  • ปริมาณ
    6.  การนับ Counting

         เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย

    7.  รูปทรงและขนาด Sharp and Size

         เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนเข้าโรงเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ตัวเลข = น้อย มาก ไม่มี ทั้งหมด

อุณหภูมิ = เย็น ร้อน อุ่น เดือด
                                                                                                                   
ขนาด = ใหญ่ คล้าย สองเท่า

ที่ตั้ง = บน ต่ำ ขวา ยอด


หลังจากนั้นอาจารย์ก็เปิดวีดิโอให้ดู เป็นของการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ในต่างประเทศ

        จากวิดีโอ มีแนวการสอนแบบให้เด็กสนุกไปกับกิจกรรมและการเรียนคณิตศาสตร์ เพื่อลดความกลัวที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้แก่เด็ก ครูจะจัดกิจกรรมการนับการจัดลำดับนอกห้องเรียน เด็กๆก็มีความสนใจที่จะร่วมกิจกรรม เป็นส่วนหนึ่งของการปรับตัว การเรียนการสอนของเด็ก